เมนู

พลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัย
นั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่
สัมปยุตด้วยมุทิตา.
มุทิตา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน
ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก
วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและ
สุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความ
พลอยยินดี. มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.
มุทิตา เป็นไฉน ?
ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย
ปีติได้ด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วย
นามกาย บรรลุตติยฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี
มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลาย
ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

มุทิตากุศลฌาน ปัญจกนัย

1

ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ประกอบ
1. โดยนัยของพระอภิธรรม มุทิตาเป็นอารมณ์ของฌานที่ 1 ถึงที่ 4 เท่านั้น ไม่เป็น
อารมณ์ของฌานที่ 5

ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี
กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด
นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน
ที่สหรคตด้วยมุทิตา ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิตก อยู่
ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอยยินดี มุทิตาเจโต-
วิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียก
ว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุตติยฌาน
ที่สหรคตด้วยมุทิตา อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก
วิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข
อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความ
พลอยยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลาย
ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่สหรคตด้วยมุทิตา ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้า
ทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็น
สุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด การพลอยยินดี กิริยาที่พลอยยินดี ความพลอย
ยินดี มุทิตาเจโตวิมุตติ ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า มุทิตา. ธรรม
ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยมุทิตา.

อุเบกขากุศลฌาน

1

[754] อุเบกขา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถ-
ฌาน
ที่สหรคตด้วยอุเบกขา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ
โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ใน
สมัยใด การวางเฉย กิริยาที่วางเฉย ความวางเฉย อุเบกขาเจโตวิมุตติ ใน
สมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า อุเบกขา. ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรม
ที่สัมปยุตด้วยอุเบกขา.
[755] อัปปมัญญา 4 คือ
1. เมตตา
2. กรุณา
3. มุทิตา
4. อุเบกขา

เมตตาวิปากฌาน จตุกกนัย


[756] ในอัปปมัญญา 4 นั้น เมตตา เป็นไฉน ?
ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม
สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่สหรคตด้วยเมตตา
ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ
ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า กุศล.

1. โดยนัยของพระสูตร อุเบกขาเป็นอารมณ์ของฌานที่ 4 เท่านั้น โดยนัยของพระ
อภิธรรมเป็นอารมณ์ของฌานที่ 5 เท่านั้น แต่ว่าโดยองค์ของฌานที่ 4 โดยนัยของพระสูตร
และฌานที่ 5 โดยนัยของพระอภิธรรม ต่างก็มีองค์ฌานสองคือ อุเบกขาและเอกัคคตา
เหมือนกัน ในการแสดง อุเบกขากุศลฌาน วิปากฌานและกิริยาฌาน จึงแสดงโดยนัยของ
พระสูตรเท่านั้น.